วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไขข้อสงสัยทุกคำถามที่อยากรู้

    วัคซีนไข้หวัดใหญ่


    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


              วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดแล้วจะไม่เป็นหวัดอีกเลยหรือเปล่า แล้วจำเป็นต้องฉีดซ้ำไหม ใครคือกลุ่มเสี่ยงที่ต้องฉีด อยากรู้คำตอบตามไปอ่านด้วยกันเลย
              เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว สายฝนที่โปรยปรายกับอากาศชื้น ๆ พาโรคภัยไข้เจ็บมาหาเราได้หลายโรคเลยเนอะ โดยเฉพาะ "โรคไข้หวัดใหญ่" ที่มีคนป่วยกันไม่น้อยเลยในแต่ละปี เพราะแพร่ระบาดได้ง่าย แค่หายใจ ไอ จาม ก็พาลให้คนข้าง ๆ ป่วยตามได้แล้ว แต่ถ้าเราฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ป้องกันไว้แต่เนิ่น ๆ ก็ช่วยลดความเสี่ยงให้เราได้เหมือนกัน 

              ว่าแต่...ใครกันนะที่ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ แล้วถ้าเราเคยฉีดไปแล้วเมื่อปีที่แล้ว ปีนี้ต้องไปฉีดซ้ำอีกไหม แล้วถ้าฉีดแล้วจะไม่เป็นหวัดไปตลอดทั้งปีเลยหรือ? ใครกำลังมีข้อสงสัยเรื่องการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่อยู่ล่ะก็ วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาช่วยไขคำตอบให้แล้วค่ะ

     ไข้หวัดใหญ่คืออะไร?

              ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซ่า ซึ่งมักระบาดเป็นช่วง ๆ โดยเฉพาะในช่งหน้าฝนและหน้าหนาว แถมยังมีความร้ายกาจตรงนี้มีโอกาสกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรงได้ด้วย อย่างเช่นตอนที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ H1N1 หรือไข้หวัด 2009 ถือเป็นการระบาดครั้งใหญ่เลย


     จะรู้ได้อย่างไรว่าป่วยไข้หวัดใหญ่?

              จริง ๆ อาการไข้หวัดใหญ่ก็คล้ายกับไข้หวัดทั่วไปค่ะ แต่จะมีอาการรุนแรงกว่า ผู้ป่วยจะมีน้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ มีไข้สูงมาก ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว บางรายจะมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น ปอดบวม ถึงขั้นต้องเข้าโรงพยาบาลได้เลย


    วัคซีนไข้หวัดใหญ่

     วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่คืออะไร?

              วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวัคซีนชนิดฉีด ผลิตจากเชื้อที่ตายแล้วโดยผ่านกระบวนการผลิตที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรค แต่ผู้ฉีดวัคซีนแล้วยังอาจเป็นไข้หวัดใหญ่ได้ แต่อาการจะน้อยลง โดยภูมิคุ้มกันจะสร้างขึ้นภายใน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับวัคซีน


     ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วจะไม่เป็นหวัดแล้ว จริงป่ะ?

              ใครคิดแบบนี้อยู่ต้องรีบบอกเลยว่า "ไม่ใช่" ค่ะ เพราะวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะช่วยป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เท่านั้น ไม่ได้ป้องกันโรคไข้หวัดทั่วไปที่เกิดจากเชื้ออื่น ๆ นะ


     ใครควรได้รับการฉีดวัคซีน?

              วัคซีนนี้สามารถฉีดป้องกันได้เกือบทุกคนนะคะ แต่ปกติแล้ว กระทรวงสาธารณสุขจะเน้นย้ำให้คนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรได้รับการฉีดวัคซีนมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ คือ

               1. บุคคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย

               2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 โรค ได้แก่ เบาหวาน หลอดเลือดสมอง ไตวาย หอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหัวใจ และโรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างได้รับเคมีบำบัด

               3. หญิงมีครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป

               4. บุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป

               5. เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี

               6. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ 

               7. ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย

               8. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ติดเชื้อ HIV

               9. คนที่น้ำหนักตัวมากกว่า 100 กก. หรือค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 35 กก.ต่อตารางเมตร

     ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ฟรี 2557 ได้ที่ไหน?

              ใครที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ สามารถไปขอรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ฟรีตามโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ หรือสถานบริการสาธารณสุขของรัฐที่เข้าร่วมโครงการ สอบถามก่อนได้ที่สายด่วน สปสช. โทร.1330 หรือที่สายด่วนกรมควบคุมโรค หมายเลข 1422 

    ไข้หวัดใหญ่


     แล้วควรฉีดวัคซีนเมื่อไร?

              สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมคือ ก่อนฤดูฝน (เดือนพฤษภาคม) และก่อนฤดูหนาว (เดือนตุลาคม) เพราะเป็นช่วงที่เริ่มมีการระบาดแล้วค่ะ


     เพิ่งฉีดไปเมื่อปีที่แล้ว จำเป็นต้องฉีดซ้ำในปีนี้ด้วยไหม?

              ถึงแม้เราจะฉีดวัคซีนไปแล้วเมื่อปีที่ก่อน แต่ปีนี้ก็ต้องฉีดด้วยค่ะ เพราะภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่มักอยู่ไม่นาน มักลดต่ำลงได้ในระยะเวลาไม่กี่เดือนหรือปี จึงจำเป็นต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่กระตุ้นภูมิคุ้มกันทุกปี เพื่อจะได้ป้องกันได้อย่างต่อเนื่อง

              แล้วรู้ไหมว่า เชื้อไข้หวัดใหญ่มักกลายพันธุ์ได้ในช่วงระยะเวลาไม่นานด้วย ทำให้สายพันธุ์ที่ระบาดในแต่ละปีไม่เหมือนกัน ดังนั้น จึงต้องปรับเปลี่ยนวัคซีนไปตามฤดูกาลปัจจุบัน เราจึงจำเป็นต้องฉีดทุกปีเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ปรับให้เหมาะสมกับเชื้อใหม่ในแต่ละปีนั่นเอง

              อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณพ่อคุณแม่พาลูก ๆ อายุต่ำกว่า 9 ปี ไปฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เป็นครั้งแรก มีคำแนะนำให้ฉีด 2 เข็มค่ะ โดยให้เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 4 สัปดาห์
     

     อาการข้างเคียงของวัคซีนไข้หวัดใหญ่มีอะไรบ้าง?

              การฉีดวัคซีนทุกชนิดสามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ ทั้งมีอาการบวมแดงบริเวณที่ฉีด เป็นไข้ ปวดเมื่อย แต่อาการเหล่านี้จะหายไปเองภายใน 1-2 วันหลังฉีดยา สามารถใช้ผ้าเย็น ๆ ประคบบริเวณที่บวมได้ หรือทานยาลดไข้ในขนาดที่เหมาะสมได้

              ส่วนที่ว่าฉีดยาแล้วจะมีอาการแพ้หรือไม่นั้น พบได้น้อยมากค่ะ ถ้าใครแพ้จริง ๆ จะมีอาการปรากฏให้เห็นภายใน 2-3 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมงหลังฉีด โดยอาจมีอาการหายใจไม่สะดวก หายใจมีเสียงดัง หอบ เสียงแหบ ลมพิษ หัวใจเต้นเร็ว วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม หมดสติ ถ้ามีอาการแบบนี้ให้รีบพบแพทย์ทันที


    ไข้หวัดใหญ่


     แล้วมีใครที่ไม่ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่บ้าง?

              ถึงแม้วัคซีนไข้หวัดใหญ่จะช่วยป้องกันโรคได้ แต่ก็มีบางคนที่ไม่ควรฉีดวัคซีนชนิดนี้ คือ

               เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน

               คนที่มีประวัติแพ้ไก่หรือไข่ไก่อย่างรุนแรง เพราะวัคซีนชนิดนี้ผลิตจากไข่ไก่

               ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วมีอาการแพ้อย่างรุนแรง

               ผู้ที่มีไข้ หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน 

               ผู้ป่วยที่มีโรคประจำกำเริบ ควบคุมไม่ได้ ควรเลื่อนการรับวัคซีนไปก่อน


     ถ้าเป็นหวัดอยู่เล็กน้อย จะฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้หรือไม่?

              คนที่มีอาการหวัด คัดจมูก เจ็บคอ ไอ ยังคงสามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ค่ะ แต่ถ้ามีไข้ ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อน
     

     วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ราคาเท่าไร?

              ถ้าเพื่อน ๆ อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สามารถเข้าไปฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้ฟรีที่โรงพยาบาลของรัฐได้เลยค่ะ ไม่ต้องเสียสตางค์ แต่ถ้าเราไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง เพียงแต่อยากฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ก็ติดต่อสอบถามราคาการฉีดวัคซีนตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ได้เลย 

              อ้อ...ที่อยากจะบอกก็คือ ราคาวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ของแต่ละโรงพยาบาลจะไม่เหมือนกันนะคะ แต่ส่วนใหญ่ราคาจะไม่เกินเข็มละหนึ่งพันบาทค่ะ และยิ่งในช่วงฤดูฝนแบบนี้ถือเป็นโอกาสดีที่โรงพยาบาลหลายแห่งมักจะจัดโปรโมชั่นลดราคาอยู่ ลองติดต่อสอบถามที่โรงพยาบาลใกล้บ้านได้เลย 

ปลูกผักกินเองในพื้นที่จำกัด ลดค่าใช้จ่าย-ไร้สารพิษ


/data/content/23977/cms/e_acdfjmnoruvy.jpg
ใครที่มีพื้นที่ใช้สอยค่อยข้างจำกัด ในบริเวณบ้าน อพาร์ทเม้นท์หรือคอนโดฯ หันมาปลูกผักสวนครัวรับประทานเอง เพราะนอกจากจะประหยัดแถมยังปลอดสารพิษอีกด้วย
พืชผักสวนครัวส่วนใหญ่ที่แนะนำให้ปลูก จะเป็นพืชที่มีอายุสั้น เก็บผลผลิตเร็ว และดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก และที่สำคัญสามารถปลูกในพื้นที่จำกัดได้ เช่น ผักชี ต้นหอม คะน้า ผักบุ้งจีน กะเพรา โหระพา แมงลัก พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว มะเขือเทศ ฯลฯ
วิธีการปลูก
- เตรียมกระถาง ขวดพสาติก หรือภาชนะที่ไม่ใช้แล้ว
- ผสมดินสำหรับปลูก โดยใช้ดิน 1 ส่วน ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก 1 ส่วน และแกลบดำ 1 ส่วน
- ผสมส่วนผสมทั้งหมดลงดิน แล้วใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้
- ขุดดินในเป็นรู หยอดเม็ดหรือหว่าน โดยกะระยะห่างของเมล็ด ให้เหมาะสมกับชนิดของผัก แล้วกลบด้วยดินปลูก
- นำภาชนะไปวางไว้ที่ที่โดนแดด อย่างน้อยครึ่งวัน รดน้ำ เช้า–เย็น โดยรดให้ดินในมีความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ
การดูแลรักษา
- ผักที่ปลูกนั้น ต้องคอยดูแล และกำจัดวัชพืช พรวนดิน และใส่ปุ๋ยหากผักเจริญเติบโตไม่ดี และหากมีการปลูกผักในครั้งต่อไปนั้นควรเปลี่ยนเป็นดินใหม่อีกด้วย
การเก็บเกี่ยว
- หากเป็นผักที่บริโภคในส่วนของใบนั้น ให้เก็บใบล่างก่อน เหลือยอดบนไว้เจริญเติบโตต่อไป เช่น ผักกาด คะน้า
- หากเป็นผักที่ใช้ส่วนยอดอ่อนบริโภคนั้น ควรเลือกเก็บเฉพาะยอดเท่านั้น จะทำให้มีการแตกยอดอ่อนเจริญเติบโตได้เพื่อให้เราบริโภคอีก เช่น กะเพรา โหระพา ฯลฯ
/data/content/23977/cms/e_acfklpstuw45.jpg/data/content/23977/cms/e_acdekqrvwxz5.jpg
ข้อดีของการปลูกผักไว้ทานเองนั้น คือ
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการไปจ่ายตลาดในแต่ละครั้งไม่มากก็น้อย
- ประหยัดพื้นที่ในการปลูก และสามารถเคลื่อนย้ายได้
- สะดวกต่อการดูแลรักษา และเก็บเกี่ยว
- สามารถนำผักที่ปลูก ไปวางตกแต่งในบ้านหรือระเบียงได้อีกด้วย
การปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคเอง นอกจากจะใช้พื้นที่เหลือใช้ให้เกิดประโยชน์แล้ว ผู้ปลูกจะภูมิใจในผลผลิตฝีมือตนเองและครอบครัวเสมอ ซึ่งอาหารจานต่อไปที่ปรุงด้วยผลงานตัวเอง รสชาติจะอร่อยกว่าภัตตาคารร้อยเท่าพันเท่า ไม่เชื่อลองดูครับ


ที่มา: เว็บไซต์แนวหน้

ทำอย่างไร…ให้ลมหายใจ ไร้มะเร็งปอด


      เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก ซึ่งตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปี หน่วยงานต่างๆ ได้มีการรณรงค์ให้ลด ละ เลิกการสูบบุหรี่ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าการสูบบุหรี่ไม่ใช่เพียงแค่ก่อโรคร้ายให้ตัวเองเพียงคนเดียว แต่ยังส่งผลกระทบต่อบุคคลรอบข้างและคนที่เรารักด้วย และเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็งปอด
/data/content/24405/cms/e_abelmpsvw589.jpg
          รศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิ หน่วยมะเร็งวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า มะเร็งปอด เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งตับและยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง แต่ผู้ป่วยเพศหญิงก็พบสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ตรวจพบในระยะเริ่มแรกได้ยากเพราะอาการจะไม่ปรากฏ ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ส่วนใหญ่ก็จะมีอาการที่โรคลุกลามแล้ว อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งปอดมีหนทางในการดูแลรักษา และส่งผลให้มีชีวิตที่ยืนยาวหรือดำรงชีวิตได้ดีขึ้น เมื่อได้รับการวินิจฉัยระยะและมีการรักษาที่ถูกต้อง
         ผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดส่วนใหญ่มักจะมีประวัติการสูบบุหรี่ โดยทั่วไปพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่จัด 1 ซองขึ้นไปต่อวัน หรือผู้ที่สูดเอาควันบุหรี่เข้าไปจะมีอายุสั้นกว่าคนปกติทั่วไป 7-10 ปี และผู้ที่สูบบุหรี่ติดต่อกันยาวนานตั้งแต่ 10-20 ปี มีความเสี่ยงสูงต่อโรคมะเร็งปอด รวมถึงการสูบบุหรี่ไฟฟ้าก็มีอันตรายต่อสุขภาพและก่อให้เกิดมะเร็งปอดได้เช่นกัน เนื่องจากคนส่วนใหญ่ทราบว่าในบุหรี่ไฟฟ้า มีปริมาณนิโคตินน้อยกว่าบุหรี่จริง ทำให้ความถี่ในการสูบบุหรี่ไฟฟ้าสูงขึ้น จึงไม่แตกต่างจากการสูบบุหรี่จริง
        อย่างก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปอดได้เช่นกัน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เช่น บุหรี่มือสอง (ได้รับควันบุหรี่จากคนรอบตัว) มลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ผู้คนหนาแน่น หรือเขตอุตสาหกรรม รวมทั้งสารบางชนิด เช่น แร่ใยหิน สารหนู โครเมียม นิกเกิ้ล น้ำมันดิน สารไฮโดรคาร์บอน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมี ควันไฟจากการเผาขยะการเผาป่าหรือกิจการทางการเกษตร ควันจากธูป ควันที่เกิดจากการประกอบอาหาร และยาลูกกลอน หรือในสมุนไพรจีนบางชนิดที่มีสารหนูปนเปื้อนควรหลีกเลี่ยง ดังนั้น ผู้ที่สูบบุหรี่จัด หรือผู้ที่สูดควันบุหรี่เป็นประจำ และผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ รวมถึงผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็ง ควรได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปอดสม่ำเสมอ
         "อันตรายของมะเร็งปอด ก็เหมือนมะเร็งชนิดอื่น คือระยะแรกๆ มักจะไม่มีอาการ จนกว่าโรคจะลุกลามไปมากแล้ว การตรวจเอกซเรย์ปอด และการตรวจร่างกายประจำปีก็ไม่อาจตรวจพบมะเร็งปอด จะสามารถตรวจพบด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ สำหรับสัญญาณอันตรายของโรคมะเร็งปอดคือ ไอเป็นเวลานาน อาการไม่ทุเลาเหมือนการไอปกติ แต่กลับเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ หายใจเหนื่อยหอบ หายใจสั้น เสียงแหบ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไอ หรือมีเสมหะ ปนเลือด เจ็บหน้าอก หัวไหล่ หลัง และแขนเป็นประจำ (อาจเป็นเพราะก้อนเนื้อเบียดกดอยู่) เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีอาการบวมบริเวณใบหน้า ลำคอ หรือแขน รวมถึงเป็นโรคปอดบวม หรือหลอดลมอักเสบบ่อย” รศ.นพ.นรินทร์ กล่าว
          สำหรับวิธีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งปอด รศ.นพ.นรินทร์ บอกว่า โดยมากผู้ป่วยมะเร็งปอดในระยะที่ 2 และ 3 เมื่อได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีสามารถหายเป็นปกติได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาภายในเวลา 3-6 เดือนผู้ป่วยจะเสียชีวิต ซึ่งความก้าวหน้าในการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดสามารถทำได้โดย การเอกซเรย์ การเจาะเลือดตรวจหามะเร็งในเลือด ตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารบ่งชี้ อัลตร้าซาวด์ ถอดรหัสดีเอ็นเอ เพื่อแยกสายพันธุ์มะเร็งปอดในระดับโมเลกุล ส่วนการรักษาสามารถทำได้โดยการผ่าตัด การฉายแสง การใช้เคมีบำบัด และการใช้ยายับยั้งยีนส์เพื่อการรักษาตามเป้าหมาย
/data/content/24405/cms/e_cfghkmoprx35.jpg
        วิธีการป้องกัน…ให้ลมหายใจ ไร้มะเร็งปอด สามารถทำได้ดังนี้
        1.การป้องกันขั้นปฐมภูมิ เป็นการหลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็ง ซึ่งเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม เป็นวิธีที่เป็นไปได้ยากมาก เพราะแค่ก้าวออกจากบ้านเราก็ได้รับสารก่อมะเร็งจาก ฝุ่นควัน และมลพิษต่างๆ แล้ว
        2.การป้องกันขั้นทุติยภูมิ หรือเมื่อร่างกายได้รับสารก่อมะเร็งแล้ว ควรออกกำลังกายเพิ่มภูมิคุ้มกัน เมื่อเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็งต่างๆ ได้ ก็ต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ บริโภคอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีสารต้านอนุมูลอิสระ เน้นผักและผลไม้ปลอดสารพิษ รวมไปถึงปลาทะเลต่างๆ
        3.การป้องกันขั้นตติยภูมิ ด้วยการตรวจสุขภาพอยู่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะการตรวจคัดกรองฉะนั้น มะเร็งปอดจะลดลงได้เมื่อมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ลดลง แต่ด้วยเทคโนโลยี และมลภาวะที่สูงขึ้น บวกกับภาวะโลกร้อน ทำให้การกระจายตัวของมลภาวะมีมากขึ้นด้วย ฉะนั้นการป้องกันโรคมะเร็งปอดสามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงสารก่อมะเร็งต่างๆ และตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี และการรักษาจะช่วยลดความทรมานของผู้ป่วย ให้มีชีวิตอยู่ได้นาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ประมวลภาพกิจกรรมการประชุมเฉพาะกิจ อสม.ต.กอตอตือร๊ะ


ประมวลภาพกิจกรรมการประชุมเฉพาะกิจ (เตรียมความพร้อมรับการประเมิน รพ.สต.ดีเด่น ระดับจังหวัด) อสม.ต.กอตอตือร๊ะ









ผู้อำนวยการ รพ.สต.กอตอตือร๊ะ


นางรอกีเยาะ เซ็งมีดี
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ตำบลกอตอตือร๊ะ