สรุปอุบัติการการเกิดโรคไข้เลือดออกในตำบลกอตอตือร๊ะ ช่วงระยะเวลา 4 ย้อนหลัง
สังเกตได้ว่าในช่วงเดือน กุมพาพันธ์ – พฤษภาคม ของทุกปีจะพบการเกิดโรคไข้เลือดออกแทบทุกที ซึ่งเป็นช่วงหลังฤดูฝน และเข้าหน้าร้อน สภาพอากาศทำให้เกิดการฝักตัวของลูกน้ำได้ง่ายในช่วงเวลาดังกล่าว และปีที่เกิดการระบาดมากที่สุดคือปี พ.ศ.2553 ซึ่งตรวจสอบพบว่าเป็นปีการระบาดหนักของทุกจังหวัดทั่วประเทศ ทั้งนี้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมิได้นิ่งนอนใจ ยังคงหามาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก ไม่ให้เกิดหรือเกิดน้อยลงในระยะเวลาถัดไป
แต่ทั้งนี้ก็อยู่ที่เราชาวบ้านเองต้องให้ความร่วมมือและใส่ใจในการป้องกันการเกิดไข้เลือดออกด้วย โดยการยึดหลัก 5 ป. ได้แก่
- ปิดฝาภาชนะกักเก็บน้ำให้มิดชิด ป้องกันยุงลายลงไปวางไข่ เพราะยุงลายชอบวางไข่ในน้ำนิ่ง สะอาด
- เปลี่ยนน้ำในภาชนะขังน้ำเล็กๆในบ้านทุกสัปดาห์ เช่นขารองตู้กับข้าว แจกัน จานรองกระถางต้นไม้
- ปล่อยปลาหางนกยูง ปลากินลูกน้ำ ในอ่างบัว อ่างปลูกพืชน้ำต่าง ๆในบริเวณบ้าน
- ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
- ปฏิบัติเป็นนิสัย ทำอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อตัดวงจรชีวิตของยุง ที่ใช้เวลาจากไข่จนโตเป็นยุง 7- 11 วัน